เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรมเป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นอุปาทา-
ธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[334] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อาหาระ และ อินทริยะ ได้แก่
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
2. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ อาหาระ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาตะ ไม่มีแตกต่างกัน.

กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
3. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม และ
ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อาหาระ และ อินทริยะ
คือ กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่
อุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม
และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2 ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย ตลอดถึงอสัญญสัตว์.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นโผฏฐัพพะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย.
7. อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ
อินทริยะ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม และรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
8. อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ,
ปัจฉาชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม และหทยวัตถุ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
โผฏฐัพพายตนะ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
โผฏฐัพพายตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร
เป็นปัจจัยแก่กาย ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

9. อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อุปาทาธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ
อินทริยะ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร
เป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[335] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 4 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 1 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 1 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 5 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ